เมื่อลองคิดดูแล้วผมคิดว่าอุตสาหกรรมดนตรีนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ
- ผู้ผลิตดนตรี (Producers) หมายถึง ผู้คนในหลากหลายอาชีพและบริษัทต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างผลงานทางดนตรีขึ้นมา นับได้ตั้งแต่ผู้ผลิตเครื่องดนตรี คนแต่งเพลง นักดนตรี Sound Engineer, Mixing Engineer, Producer, Mastering Engineer, ไปจนถึงกราฟฟิกดีไซน์ โรงงานปั๊มซีดี และโรงพิมพ์ปกซีดีเลยทีเดียว
- ผู้บริโภคดนตรี (Consumers) หมายถึง ผู้คนต่างๆที่ฟังและเสพดนตรีในทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะฟังผ่านเครื่องเสียงชนิดใดก็แล้วแต่ หรือการชมการแสดงดนตรีสด และไม่ว่าจะเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่ก็ตาม
- ผู้เป็นสื่อกลางทางดนตรี (Mediums) หมายถึง ผู้คนและบริษัทต่างๆที่อยู่ระหว่างผู้ผลิตดนตรีและผู้บริโภคดนตรี แบ่งออกได้เป็นหลายประเภท เช่น
- ผู้บริหารจัดการและอำนวยความสะดวกแก่นักดนตรี (Management and Administration) เช่น ค่ายเพลงต่างๆ
- ผู้ที่มีส่วนร่วมในการจำหน่ายดนตรีในสื่อบันทึกเสียงต่างๆ (Distributors) เช่น ผู้แทนจำหน่าย ร้านซีดี หรือ iTunes
- เจ้าของหรือผู้จัดสถานที่ในการเล่นดนตรีสด (Venues) เช่น ผู้จัดงานคอนเสิร์ต งานอีเว้นท์ ร้านอาหาร ผับบาร์ Live venue ต่างๆ
- สื่อต่างๆที่มีอิิทธิพลทำให้นักดนตรีและเพลงต่างๆเป็นที่รู้จักของผู้คน (Tastemakers) เช่น สถานีวิทยุ รายการโทรทัศน์ นักเขียน คอลัมนิส บล็อกเกอร์ บริษัท PR เป็นต้น
- ผู้ที่นำดนตรีไปเพื่อใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนเอง (Combinatorials) เช่น ผู้ผลิตภาพยนต์ โฆษณา ร้านอาหาร ผับบาร์
เมื่อจัดแบ่งวงการดนตรีออกเป็น 3 ส่วนแบบนี้ จะเห็นได้ว่า เพลงเพลงหนึ่งหรือผลงานทางดนตรีชิ้นหนึ่งนั้นจะต้องผ่านคนและบริษัทต่างๆที่อยู่ในกลุ่มผู้เป็นสื่อกลางทางดนตรีหลายต่อหลายฝ่ายกว่าจะไปถึงผู้บริโภคดนตรีได้ มองในแง่หนึ่งก็อาจจะทำให้เข้าใจได้ถึงสาเหตุที่ว่าทำไมเม็ดเงินที่ผู้ผลิตดนตรีได้รับนั้นจึงเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนเงินที่ผู้บริโภคต้องจ่ายไป แต่มองอีกแง่หนึ่ง ผู้เป็นสื่อกลางนั้นก็ทำให้ดนตรีนั้นไปถึงหูของกลุ่มคนที่กว้างขึ้น ทำให้ผู้ผลิตดนตรีมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น
ความสมดุลย์ของทั้ง 3 ฝ่ายนี้มีความสำคัญมากในการที่จะทำให้อาชีพผู้ผลิตดนตรีนั้นมีความมั่นคง แต่ฝ่ายหนึ่งที่ทำให้ระบบทั้งระบบนั้นเสียสมดุลย์ไปอย่างมากในปัจจุบัน ก็คือผู้ที่ขโมยผลงานทางดนตรีไป ไม่ว่าจะเพื่อฟังเอง เพื่อเผยแพร่ หรือเพื่อหาผลประโยชน์ให้กับตนเอง ยกตัวอย่างเช่น ซีดีเถื่อน และเว็บแชร์เพลงต่างๆ เป็นต้น ด้วยความที่ดนตรีเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ และเพราะเดี๋ยวนี้อินเตอร์เน็ตทำให้สามารถหาเพลงได้อย่างสะดวกสบาย ง่าย และฟรี มันทำให้ผู้คนไม่อยากจะต้องเสียเงินซื้อเพลงที่ถูกลิขสิทธิ์ แต่ความจริงก็คือ การผลิตเพลงเพลงหนึ่งออกมานั้นมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก แถมยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกหลายอย่าง เช่น การโปรโมตและการทำการตลาด ตอนนี้จึงเป็นที่เข้าใจกันว่านักดนตรีจะหวังพึ่งการขายอัลบั้มเป็นรายได้หลักไม่ได้เหมือนเมื่อก่อนแล้ว และหนทางเดียวที่จะสร้างรายได้นั้นก็คือการทัวร์การแสดงสดเพียงอย่างเดียว
ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น มีวงดนตรีอินดี้อยู่มากมาย และมีกันแทบทุกเมืองก็ว่าได้ วงบางวงอาจมีแฟนเพลงแค่ในเมืองตัวเอง บางวงอาจเป็นที่รู้จักในรัฐใกล้เคียง บางวงอาจจะอยู่ในค่ายเล็กๆที่คอยช่วยเหลือด้านการจัดการและทำ PR และบางวงอาจจะดูแลบริหารตัวเองโดยไม่ต้องจ้างใครช่วยเลยก็ได้เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าทำไมวงอินดี้ในอเมริกาถึงอยู่รอดกันได้ก็คือขนาดของตลาดในประเทศ ประชากรของอเมริกานั้นมีประมาณ 300 ล้านคน และชาวอเมริกันนั้นมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง การทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศ หรือไปตามเมืองใหญ่ต่างๆทำได้ง่าย ไม่เหมือนกับประเทศไทยที่มีประชากรน้อยกว่ามาก กำลังซื้อต่ำ และมีเมืองใหญ่ๆไม่กี่เมืองเท่านั้น แต่ว่าผมได้มีโอกาสคุยกับเพื่อนคนหนึ่งซึ่งเคยเป็น DJ ในประเทศโปรตุเกส ซึ่งเขาบอกว่าโปรตุเกสนั้นมีขนาดเล็กมากๆ มีประชากรแค่ประมาณ 10 ล้านคน แต่มีวงอินดี้เยอะมากๆ ซึ่งทัวร์กันแทบจะตลอดเวลาและแทบจะภายในประเทศเท่านั้น ผมจึงพยายามคิดว่า อะไรบ้างจะเป็นเหตุผลที่จะทำให้วงการดนตรีอินดี้นั้นแข็งแรงได้
คำตอบที่ผมได้จากการคิดไปคิดมานั้น คือ นักดนตรีอินดี้นั้นควรที่จะต้องเรียนรู้ที่จะบริหารตัวเอง ทำการตลาดเอง ดูแลเรื่องการเงินเอง และใช้สื่อกลางต่างๆที่ราคาถูกหรือฟรี เช่นสื่อทางอินเตอร์เน็ต เพื่อสื่อสารและขายผลงานของตัวเองให้กับผู้บริโภคหรือแฟนเพลงโดยตรง หรือโดยให้ผ่านสื่อกลางทางดนตรีที่จะกินส่วนแบ่งของรายได้ออกไปให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผู้บริโภคดนตรีก็ควรที่จะยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อผลงานทางดนตรีแทนที่จะขโมยเอาจากอินเตอร์เน็ตด้วย นอกจากนี้ ผู้บริโภคดนตรีเองก็อาจจะมีส่วนร่วมในการแพร่กระจายข่าวสารของนักดนตรีไปยังกลุ่มคนรู้จักของตัวเอง กลายเป็นสื่อกลางทางดนตรีอีกทางหนึ่งด้วย
กล่าวโดยสรุปแล้ว สังคมอินดี้ในอุดมคติสำหรับผมแล้ว ยังประกอบไปด้วย 3 ฝ่ายที่เขียนไว้ข้างต้น คือ ผู้ผลิตดนตรี ผู้บริโภคดนตรี และผู้เป็นสื่อกลางทางดนตรี แต่ผู้ผลิตและผู้บริโภคดนตรีนั้น จะต้องควบหน้าที่เป็นสื่อกลางด้านการสื่อสารไปพร้อมๆกันด้วยเพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ของตัวผู้ผลิตดนตรี นอกจากนี้ สื่อกลางทางดนตรีที่อยู่ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคนั้น จะต้องราคาถูก มีประสิทธิภาพ และช่วยส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้ทั้งสองฝ่ายสามารถทำการซื้อขายโดยตรงได้มากขึ้น
ในบทนี้ ผมขอกล่าวถึงสังคมอินดี้ไว้เพียงคร่าวๆเท่านี้ก่อน แต่จะอธิบายเพิ่มเติมในบทถัดๆไป
ความสมดุลย์ของทั้ง 3 ฝ่ายนี้มีความสำคัญมากในการที่จะทำให้อาชีพผู้ผลิตดนตรีนั้นมีความมั่นคง แต่ฝ่ายหนึ่งที่ทำให้ระบบทั้งระบบนั้นเสียสมดุลย์ไปอย่างมากในปัจจุบัน ก็คือผู้ที่ขโมยผลงานทางดนตรีไป ไม่ว่าจะเพื่อฟังเอง เพื่อเผยแพร่ หรือเพื่อหาผลประโยชน์ให้กับตนเอง ยกตัวอย่างเช่น ซีดีเถื่อน และเว็บแชร์เพลงต่างๆ เป็นต้น ด้วยความที่ดนตรีเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ และเพราะเดี๋ยวนี้อินเตอร์เน็ตทำให้สามารถหาเพลงได้อย่างสะดวกสบาย ง่าย และฟรี มันทำให้ผู้คนไม่อยากจะต้องเสียเงินซื้อเพลงที่ถูกลิขสิทธิ์ แต่ความจริงก็คือ การผลิตเพลงเพลงหนึ่งออกมานั้นมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก แถมยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกหลายอย่าง เช่น การโปรโมตและการทำการตลาด ตอนนี้จึงเป็นที่เข้าใจกันว่านักดนตรีจะหวังพึ่งการขายอัลบั้มเป็นรายได้หลักไม่ได้เหมือนเมื่อก่อนแล้ว และหนทางเดียวที่จะสร้างรายได้นั้นก็คือการทัวร์การแสดงสดเพียงอย่างเดียว
ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น มีวงดนตรีอินดี้อยู่มากมาย และมีกันแทบทุกเมืองก็ว่าได้ วงบางวงอาจมีแฟนเพลงแค่ในเมืองตัวเอง บางวงอาจเป็นที่รู้จักในรัฐใกล้เคียง บางวงอาจจะอยู่ในค่ายเล็กๆที่คอยช่วยเหลือด้านการจัดการและทำ PR และบางวงอาจจะดูแลบริหารตัวเองโดยไม่ต้องจ้างใครช่วยเลยก็ได้เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าทำไมวงอินดี้ในอเมริกาถึงอยู่รอดกันได้ก็คือขนาดของตลาดในประเทศ ประชากรของอเมริกานั้นมีประมาณ 300 ล้านคน และชาวอเมริกันนั้นมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง การทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศ หรือไปตามเมืองใหญ่ต่างๆทำได้ง่าย ไม่เหมือนกับประเทศไทยที่มีประชากรน้อยกว่ามาก กำลังซื้อต่ำ และมีเมืองใหญ่ๆไม่กี่เมืองเท่านั้น แต่ว่าผมได้มีโอกาสคุยกับเพื่อนคนหนึ่งซึ่งเคยเป็น DJ ในประเทศโปรตุเกส ซึ่งเขาบอกว่าโปรตุเกสนั้นมีขนาดเล็กมากๆ มีประชากรแค่ประมาณ 10 ล้านคน แต่มีวงอินดี้เยอะมากๆ ซึ่งทัวร์กันแทบจะตลอดเวลาและแทบจะภายในประเทศเท่านั้น ผมจึงพยายามคิดว่า อะไรบ้างจะเป็นเหตุผลที่จะทำให้วงการดนตรีอินดี้นั้นแข็งแรงได้
คำตอบที่ผมได้จากการคิดไปคิดมานั้น คือ นักดนตรีอินดี้นั้นควรที่จะต้องเรียนรู้ที่จะบริหารตัวเอง ทำการตลาดเอง ดูแลเรื่องการเงินเอง และใช้สื่อกลางต่างๆที่ราคาถูกหรือฟรี เช่นสื่อทางอินเตอร์เน็ต เพื่อสื่อสารและขายผลงานของตัวเองให้กับผู้บริโภคหรือแฟนเพลงโดยตรง หรือโดยให้ผ่านสื่อกลางทางดนตรีที่จะกินส่วนแบ่งของรายได้ออกไปให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผู้บริโภคดนตรีก็ควรที่จะยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อผลงานทางดนตรีแทนที่จะขโมยเอาจากอินเตอร์เน็ตด้วย นอกจากนี้ ผู้บริโภคดนตรีเองก็อาจจะมีส่วนร่วมในการแพร่กระจายข่าวสารของนักดนตรีไปยังกลุ่มคนรู้จักของตัวเอง กลายเป็นสื่อกลางทางดนตรีอีกทางหนึ่งด้วย
กล่าวโดยสรุปแล้ว สังคมอินดี้ในอุดมคติสำหรับผมแล้ว ยังประกอบไปด้วย 3 ฝ่ายที่เขียนไว้ข้างต้น คือ ผู้ผลิตดนตรี ผู้บริโภคดนตรี และผู้เป็นสื่อกลางทางดนตรี แต่ผู้ผลิตและผู้บริโภคดนตรีนั้น จะต้องควบหน้าที่เป็นสื่อกลางด้านการสื่อสารไปพร้อมๆกันด้วยเพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ของตัวผู้ผลิตดนตรี นอกจากนี้ สื่อกลางทางดนตรีที่อยู่ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคนั้น จะต้องราคาถูก มีประสิทธิภาพ และช่วยส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้ทั้งสองฝ่ายสามารถทำการซื้อขายโดยตรงได้มากขึ้น
ในบทนี้ ผมขอกล่าวถึงสังคมอินดี้ไว้เพียงคร่าวๆเท่านี้ก่อน แต่จะอธิบายเพิ่มเติมในบทถัดๆไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น